พระเจ้าเสือ ทรงนักมวย

ประวัติสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือสมเด็จ พระเจ้าเสือ (สมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ) พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 29 แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นพระโอรสของพระเพทราชา กับนางกุลธิดา (ราชธิดาพระเจ้าเชียงใหม่) ซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้พระราชทานให้สมเด็จพระเพทราชาเมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่ง เจ้ากรมช้าง พระราชสมภพปีขาล พ.ศ. 2205 ราชาภิเษก พ.ศ.2246 ทรงมีพระโอรส 2 พระองค์ คือ เจ้าฟ้าเพชร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) และ เจ้าฟ้าพร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) สำหรับพระสมญานามว่า “เสือ” อาจสืบเนื่องมาจากพระราชสมภพปีขาล ซึ่งแปลว่าเสือ บางท่านกล่าวว่าเป็นเพราะพระองค์มีพระนิสัยดุ จากพระราชประวัติ น่าจะหมายถึงทรงมีความเด็ดขาดในการมีรับสั่งให้ผู้ที่ปฏิบัติงานใดก็แล้วแต่ ทำงานแล้วจะต้องสำเร็จผลเป็นอย่างดีหากบกพร่องพระองค์จะมีรับสั่งให้ลงโทษ ไม่เฉพาะข้าราชบริพารเท่านั้น แม้พระราชโอรสทั้งส องก็เช่นกัน อย่างเช่น ในการเสด็จไปคล้องช้างที่เมืองนครสวรรค์ มีรับสั่งให้เจ้าฟ้าเพชรและเจ้าฟ้าพรตัดถนนข้ามบึงหูกวาง โดยถมบึงส่วนหนึ่งให้เสร็จภายในหนึ่งคืน พระราชโอรสดำเนินงานเสร็จตามกำหนด แต่เมื่อเสด็จพระราชดำเนิน ช้างทรงตกหล่ม ทรงลงพระราชอาญาเจ้าฟ้าเพชร แต่หากผู้ใดมีความดีความชอบพระองค์กลับมีพระเมตตายิ่งดังเรื่อง พันท้ายนรสิงห์มหาดเล็กข้าหลวง เดิมตำแหน่งนายท้ายเรือพระที่นั่งเอกชัยของสมเด็จพระเจ้าเสือเมื่อครั้ง เสด็จทางชลมารคไปตามคลองโคกขาม เมืองสาครบุรี ลำคลองคดเคี้ยวมาก พันท้ายนรสิงห์เป็นผู้คัดท้ายเรือพระที่นั่งและเป็นผู้ทำให้หัวเรือพระที่ นั่งชนกิ่งไม้ หัวเรือพระที่นั่งหัก ซึ่งตามพระราชประเพณีนายท้ายเรือจะต้องรับโทษถึงตายแต่สมเด็จพระเจ้าเสือ ทรงมีพระเมตตาพระราชทานอภัยโทษแต่พันท้ายนรสิงห์เกรงจะเสียขนบธรรมเนียม กราบทูลขอให้พระองค์มีพระเมตตาแก่บุตรภรรยาของตนแทน และขอรับโทษตามราชประเพณี พระองค์จึงมีรับสั่งให้ปลูกศาลเพียงตาแล้วประหารชีวิตตัดศีรษะพันท้าย นรสิงห์ พร้อมทั้งนำหัวเรือพระที่นั่งขึ้นพลีกรรมไว้บนศาลด้วยในสมัยสมเด็จพระ นารายณ์มหาราช สมเด็จพระเจ้าเสือได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการเป็นที่ โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์ ต่อมาได้ตำแหน่งเป็นหลวงสรศักดิ์ สมัยสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. 2231 – 2246) หลวงสรศักดิ์ให้รับสถาปนาเป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล และได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากพระเพทราชาพระนาม “สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8” สมเด็จพระเจ้าเสือ พระนามเดิม “เดื่อ” สืบเนื่องมาจากพระมารดาและสมเด็จพระเพทราชา(จางวาง-กรมช้าง) ตามเสด็จสมเด็จพระนารายณ์มหาราชขึ้นไป นมัสการพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ วัดพระศรี-มหาธาตุ เมืองพิษณุโลก กระบวนเสด็จพระราชดำเนินถึงตำบลโพธิ์ประทับช้าง (เดิมชื่ออะไรไม่ปรากฏ) เมืองพิจิตร พระมารดาเจ็บครรภ์คลอดพระองค์ใกล้ต้นโพธิ์ใหญ่ ซึ่งมีต้นมะเดื่อใหญ่อยู่ใกล้กัน และได้นำรกไปฝังไว้ระหว่างต้นโพธิ์กับต้นมะเดื่อเสร็จแล้วกระบวนเสด็จพระราช ดำเนินทางต่อไปจนถึงเมืองพิษณุโลก สมัยสมเด็จพระเจ้าเสือบ้านเมืองสงบสุขไม่มีศัตรูมารุกราน แม้พระองค์โปรดการเสด็จประพาสไปในที่ต่าง ๆ ทั้งทางบกทางน้ำเป็นส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ประทับในพระราชวัง แต่ก็ไม่มีผู้ใดคิดร้าย เนื่องจากเกรงอำนาจบารมีของพระองค์ โปรดการคล้องช้างป่าเพื่อนำมาใช้ในราชการ โปรดการทรงเบ็ดตกปลา ล่าสัตว์ และโปรดการชกมวยอย่างยิ่ง ทรงปลอมพระองค์เป็นสามัญชนนักมวยชาวกรุงผู้มีฝีมือเป็นเลิศเสด็จไปตามสนาม มวยต่าง ๆ เพื่อเปรียบมวยชกและทรงชนะทุกครั้งหาผู้ใดเปรียบฝีพระหัตถ์ได้ไม่ หลังการชกมวยพระองค์และทหารจะเสด็จเที่ยวชมงานเยี่ยงสามัญชนโดยไม่มีผู้ใด รู้ว่าพระองค์คือ กษัตริย์พระราชกรณียกิจในด้านต่าง ๆ

ด้านศาสนา พระเจ้าเสือ
1. ทรงปฏิสังขรณ์มณฑปสวมรอยพระพุทธบาทสระบุรี สร้างมาแต่ครั้งสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งทำเป็นยอดเดียวชำรุด โปรดฯ ให้สร้างใหม่เป็น 5 ยอด รวมทั้งปฏิสังขรณ์ทั่วทั้งอาราม
2. ปี พ.ศ. 2249 เกิดอัสนีบาตต้องยอดมณฑปพระมงคลบพิตร เครื่องบนมณฑป ทรุดโทรมพังลงมาต้องพระศอพระมงคลบพิตรหัก โปรดฯ ให้รื้อเครื่องบนออก ก่อสร้างใหม่แปลงเป็นมหาวิหาร
3. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสด็จพระราชดำเนินไปมนัสการพระพุทธฉายและสันนิษฐานว่าค้นพบในสมัยพระองค์
4. พระราชกรณียกิจที่สำคัญอันเกี่ยวเนื่องเมืองพิจิตร เพื่อเป็นการรำลึกถึงชาติภูมิของพระองค์สมเด็จพระเจ้าเสือได้โปรดให้สร้าง วัดโพธิ์ประทับช้างขึ้นที่เมืองพิจิตร โดยสร้างพระอุโบสถ พระวิหาร พระมหาเจดีย์ ศาลาการเปรียญ และกุฏิสงฆ์ มีอาณาบริเวณวัดกว้างขว้างใหญ่โต ใช้เวลาสร้าง 2 ปี จึงสำเร็จ เสด็จพระราชดำเนินมาทำการฉลองด้วยพระองค์เอง มีการฉลอง สามวันสามคืน มีมหรสพครึกครื้น และมีผู้คนมากมายมาฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทและดูมหรสพ ฉลองเสร็จแล้วทรงพระราชอุทิศถวายเลขข้าพระไว้สำหรับอุปฐากพระอารามถึง 200 ครัวเรือน นับว่าครั้งนั้นวัดโพธิ์ประทับช้างเป็นวัดที่เด่นที่สุดในเมืองพิจิตร สมเด็จพระเจ้าเสือทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก โปรดฯ ให้สมเด็จเจ้าแตงโม(พระสุวรรณมุนี) เป็นพระอาจารย์สอนวิชาความรู้แก่พระราชโอรสและพระราชนัดดา ทรงไม่พอพระทัยที่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ฝรั่งคนโปรดของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สึกออกมาทำราชการเป็นจำนวนมาก

ด้านคมนาคม
1. ทรงให้มีการตัดถนนข้ามบึงหูกวางที่เมืองนครสวรรค์
2. ทรงให้ขุดคลองโคกขาม ซึ่งคดเคี้ยวให้ตรงหลังจากเหตุการณ์หัวเรือพระที่นั่งหักและพระองค์ต้องมี รับสั่งให้ประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ตามราชประเพณี
3. ทรงให้มีการปรับปรุงเส้นทางทางไปพระพุทธบาทสระบุรี ให้เดินทางมาสะดวกยิ่งขึ้น สมเด็จพระเจ้าเสือเสด็จอยู่ในตำแหน่งที่พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2231 – 2246 เป็นเวลา 5 ปี เสด็จอยู่ในพระราชสมบัติ พ.ศ. 2246 – 2252 เป็นเวลา 7 ปี รวมการบริหารราชการแผ่นดินทั้งตำแหน่งรองพระมหากษัตริย์ และทรงเป็นพระมหากษัตริย์ได้ 22 ปี พระชนมายุจนถึงสวรรคต 47 พรรษา

คาถาบูชาสมเด็จ พระเจ้าเสือ 

ตั้งนะโม ๓ จบ (ตั้งจิตอธิษฐานระลึกถึงสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ)

อิติจิตตัง เอหิ เทวะตาหิ จะมะหาเตโช นะระปูชิโต
โสระโส ปัจจะยา ทิปปะติ พยัคฆะพุทธะสะโร มะหาราชา
เมตตา จะกะโรยัง มะหาลาภัง สะทาโสตถี ภะวันตุ เม
นะเมตตา โม กรุณา พุท ปราณี ธา ยินดี ยะ เอ็นดู
อิติปิโส ภะคะวา นะโมพุทธายะฯ

เชื่อว่า หากได้บูชาพระพุทธเจ้าเสือแล้ว จะเป็นสิริมงคลอย่างยิ่ง สิ่งดีๆจะเกิดแก่ชีวิต สิ่งใดที่คิดจะได้สมใจปรารถนา ลุล่วงไปได้ด้วยพระบารมีของสมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ แคล้วคลาดปลอดภัย มีเสน่ห์ เมตตามหานิยม จะเกิดแก่ผู้ที่ศรัทธา

คาถานักมวย

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระโต สัมมา สัมพุทธัสสะ 3 จบ

นะโม พุทธายะ นะธนู นะกาโรโหติ สัมภะโว
ปะถะมังพินธุกังชาตัง นะรา นะวะ หิตังเทวัง
นะระเทเวหิปูชิตัง นะรานัง กามะปังเกหิ
นะมามิสุคะตังชิตัง จะ ภะ กะ สะ