พระพุทธรูป ปางนาคปรก

พระพุทธรูป ปางนาคปรก

พระพุทธรูป ปางนาคปรก เป็นชื่อเรียก พระพุทธรูป ลักษณะนั่งสมาธิ และมีพญานาคแผ่หัวเป็นพังพาน ขึ้นจากไหล่ไปปรกพระเศียรของพระพุทธรูป แต่เดิมทำเป็นรูปพญานาคเป็นมนุษย์ มีรูปงู 9 หัวเป็นพังพานขึ้นจากไหล่ ไปปรกพระเศียร (ศีรษะ) ในกิริยาที่พญานาค ทำท่า นมัสการพระพุทธเจ้า ต่อมาภายหลังทำ พญานาคเป็นรูปงูขดตัวเป็นฐานตั้ง พระพุทธรูปนั่งสมาธิบนตัวพญานาค และมีพังพานและหัวของพญานาค 7 เศียรปรกอยู่

หลังจากที่พระพุทธโคตม ได้ทรงตรัสรู้ พระพุทธองค์ได้แปรที่ประทับ เพื่อเสวยวิมุติสุขยังสถานที่ต่างๆ ในอาณาบริเวณที่ไม่ห่างจาก ต้นพระศรีมหาโพธิ์ นักโดยประทับ แต่ละที่สัปดาห์ละ 7 วัน และในสัปดาห์ที่ 6 ในขณะที่พระพุทธองค์ทรงประทับ ณ ใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาประทับอยู่ที่นี่ ได้บังเกิดมีฝนและลมหนาวตกพรำ ตลอดเจ็ดวันไม่ขาดสาย ผู้รจนาปฐมสมโพธิได้แต่งเล่าเรื่องไว้ว่า พญานาคชื่อ มุจลินทร์ ได้ขึ้นจากสระน้ำที่อยู่ ในบริเวณแห่งเดียวกันนี้ เข้าไปวงขนด 7 รอบ แล้วแผ่พังพานปกพระพุทธเจ้า เพื่อป้องกันลมฝนมิให้พัด และสาดกระเซ็นมาต้องพระวรกาย ครั้นฝนหาย ฟ้าสาง พญานาคจึงคลายขนดออก แล้วจำแลงเป็นเพศมาณพยืนเฝ้า พระพุทธเจ้าทางเบื้องพระพักตร์ ลำดับนั้นพระพุทธองค์จึงทรงเปล่งอุทานว่า

ความสงัดคือความสุขของบุคคล ผู้มีธรรมอันได้สดับแล้วได้รู้เห็นสังขารทั้งปวงตามเป็นจริงอย่างไร ความสำรวมไม่เบียดเบียนในสัตว์ทั้งหลาย และ ความเป็นผู้ปราศจากกำหนัด หรือสามารถก้าวล่วงพ้นซึ่งกามทั้งปวงเสียได้ เป็นสุขอันประเสริฐในโลก ความขาดจากอัสมิมานะ หรือการถือตัวตนหากกระทำให้ (การถือตัว) หมดสิ้นไปได้นั้นเป็นความสุขอย่างยิ่ง

ครั้นพระพุทธองค์ เสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข ณ ร่มไม้อชปาลนิโครธสิ้น ๗ วัน แล้วพระองค์ก็เสด็จ ไปประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขยังร่มไม้จิก อันมีชื่อว่า มุจจลินท์ ซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศอาคเนย์ของ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ วันนั้นเกิดฝนตกพรำอยู่ไม่ขาดสายตลอด ๗ วัน พญานาคมุจจลินท์ ผู้เป็นราชาแห่งนาค ได้ออกจากนาคพิภพ ทำขนดล้อมพระวรกาย ๗ ชั้น แล้วแผ่พังพานใหญ่ปกคลุมเบื้องบน เหมือนกั้นเศวตฉัตรถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยความประสงค์มิให้ฝน และลมหนาวสาดต้องพระวรกาย ทั้งป้องกันเหลือบ ยุง บุ้ง ร่าน ริ้น และสัตว์เลื้อยคลานทั้งมวลด้วย ครั้งฝนหายแล้ว พญามุจจลินท์นาคราช จึงคลายขนดจากที่ล้อม พระวรกายพระพุทธเจ้า จำแลงเพศเป็นมาณพน้อยยืนทำอัญชลีถวายนมัสการ พระพุทธองค์ในที่เฉพาะพระพักตร์ ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานว่า “สุโข วิเวโก ตุฏฺฐัสสะ สุตะธัมมัสสะ ปัสสะโต อัพยาปัชชัง สุขัง โลเก ปาณะภูเตสู สัญญะโม สุขา วิราคะตา โลเก กามานัง สะมะติกฺกะโม อัสมิมานัสสะ วินะโย เอตัง เว ปะระมัง สุขัง ฯ” ความว่า “ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้ว รู้เห็นสังขารทั้งปวงตามเป็นจริงอย่างไร ความเป็นคนไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความเป็นคนปราศจากความกำหนัด คือความก้าวล่วงกามทั้งปวงเสียได้ เป็นสุขในโลกความนำออกเสียซึ่งอัสมินมานะ คือความถือตัวตนให้หมดได้นี้เป็นสุขอย่างยิ่ง”

พระพุทธจริยาที่เสด็จประทับนั่ง เสวยวิมุตติสุขภายในวงขนดของ พญานาคมุจจลินท์นาคราช ที่ขดแวดล้อมพระกายอยู่นี้ เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปปางนี้ขึ้นมา เรียกว่า ปางนาคปรก เรื่องพระ ปางนาคปรก นี้ นิยมสร้างเป็นพระนั่งบนขนดตัวพญานาค เหมือนเอานาคเป็นบัลลังก์ดูสง่า องอาจเป็นพระเกียรติอำนาจขอ งพระองค์อย่างหนึ่ง ได้ลักษณะเป็นอย่างพระเจ้าของพราหมณ์ ถ้าจะรักษาลักษณะของ พระพุทธรูปตามประวัติ ก็จะเป็นไปอีกในลักษณะหนึ่งคือ พระพุทธรูปจะมีพญานาคพันรอบ พระวรกายด้วยขนดตัวพญานาคถึง ๔-๕ ชิ้น จนบังพระวรกายมิดชิด เพื่อป้องกันฝนและลม จะเห็นได้ก็เพียงพระเศียร พระศอ และพระอังสาเป็นอย่างมาก ทั้งเบื้องบนก็มีหัวพญานาคปรก แผ่พังพานปกคลุมอีกด้วย

ในแต่ละยุคสมัยได้มีการออกแบบ พระพุทธรูป ปางนาคปรก มีหลากหลายลักษณะ แต่ที่นิยมกันมากคือพระพุทธรูปนั่งสมาธิราบ หรือขัดสมาธิเพชร มีพยานาคขดตัวที่ฐาน 3 รอบ แล้วแผ่พังพานขึ้นปรกพระเศียรองค์พระพุทธรูป ซึ่่งพยานาคจะมี 1 เศียร , 5 เศียร, 7 เศียร หรือ 9 เศียร ขึ้นอยู่กับช่างปั้นช่างหล่อหล่อพระพุทธรูป ปางนาคปรก นั้น จะสร้างสรรค์จินตนาการขึ้น ทางโรงหล่อพระบุญชูปฏิมาพร ได้มีประสบการณ์การหล่อพระพุทธรูป ปางนาคปรก มาแล้วเป็นจำนวนมากจากระยะเวลาและประสบการณ์กว่า 40 ปี จึงขอฝากผลงานและฝีมือการปั้นการออกแบบสร้างสรรค์ไว้ในพระพุทธศาสนาตลอดไป ก่อนจะจบบทความนี้จึงขอฝากพระคาถา บูชาพระพุทธรูป ปางนาคปรก มาไว้ให้ผู้ที่ศรัทธามีจิตสัมผัสผูกพันธ์กับพยานาค โดยเฉพาะผู้ที่เกิดในวันเสาร์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ เกิดความสุข ในชีวิตและธุระกิจของท่านเทอญ

คาถาบูชาพระนาคปรก

ภาวนาคาถานี้ ๑๐ จบก่อนเข้านอน
    ยะโตหัง  ถะคินิ  อะริยายะ  ชาติยา
    ชาโต  นาภิชานามิ  สัญจิจจะ   ปาณัง
    ชีวิตา  โวโรเปตา  เตนะ  สัจเจนะ
    โสตถิ  เต  โหตุ  โสตถิ  คัพภัสสะ ฯ

    หมายเหตุ .   คาถานี้ ท่านโบราณาจารย์ ว่าเป็นคาถาพระองคุลิมาลสำหรับเสกน้ำให้สตรีทีครรภ์ดื่มคลอดบุตรง่าย ศักดิ์สิทธิ์นักแล

    วันเสาร์ ท่านว่า จุติมาจากเขาไกรลาศ มีฤทธิ์เดช มีอำนาจ วาสนา อาสาเจ้านายจะได้เป็นใหญ่เจ้าคนนายคน

    ตำนานว่า คนเกิด วันเสาร์ เผ่าญาติพี่น้อง ใจจิตคิดปอง จองหองแก่กัน โมโหดื้อลั้น ไม่มั่นคง ตรงผู้อื่น ชื่นชมนักหนา บ้านนอกคอกนามิสู้สมัคร ชังใครชังนัก รักใครรักจริง พี่น้องด้วยกัน ไม่ถวิล ผิดด้วยสตรี หลายครั้งหลายหน เงินทองข้าคน เกิดข้างที่ปลายนามธาตุไฟ ใจมักง่ายนักแล.