โรงหล่อพระ

พระพุทธรูป แบบอินเดีย

พระพุทธรูป แบบอินเดีย คือพระพุทธรูปที่เริ่มมีการ หล่อพระ ขึ้นมาตั้งแต่ระหว่าง พ.ศ. 500 ถึง 550 เมื่อชาวกรีก ที่ชาวชมพูทวีป (อินเดียโบราณ) เรียกชาวต่างแดนว่า “โยนา” หรือ “โยนก” โดยพระเจ้าเมนันเดอร์ที่ 1 หรือ พระเจ้ามิลินท์ กษัตริย์เชื้อสายกรีก ยกทัพกรีกเข้ามาครอบครองแคว้น คันธารราฐ (ปัจจุบันเป็นดินแดนของ อัฟกานิสถาน) จากนั้นพระองค์ก็แผ่อาณาเขตไปทั่วบริเวณด้าน ตะวันตกเฉียงเหนือ ของชมพูทวีป และสร้างเมืองหลวงเป็นที่ประทับ ณ เมืองสากล หลังจากที่ได้พบพระสงฆ์ท่านหนึ่งนามว่า นาคเสน จึงมีเรื่องราวแห่งการตั้งคำถามของพระเจ้ามิลินท์ต่อพระนาคเสน จนทำพระเจ้ามิลินท์ ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา 

พระพุทธรูป รูปแรกจึงเกิดขึ้นในสมัยของ พระเจ้ามิลินท์ หรือ เมนันเดอร์ที่ 1 ชาวกรีกที่มาครอบครองแคว้น คันธารราฐ เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 หรือ 2,000 ปีที่แล้วนั่นเอง พระพุทธรูป ที่เกิดขึ้นครั้งแรกจึงเรียก รูปแบบของ พระพุทธรูป นี้ว่า แบบคันธารราฐ โดยถ่ายแบบอย่างเทวรูปที่พวกชาวกรีกนับถือกันในยุโรปมาสร้าง พระพุทธรูปแบบคันธารราฐจึงมีใบหน้าเหมือนฝรั่งชาวกรีก จีวรก็เป็นริ้วเหมือนเครื่องนุ่งห่มของเทวรูปกรีก และต่อมาในภายหลัง ราวพุทธศตวรรษ ที่ 4-12 มีคตินิยมสร้าง หล่อพระ พุทธรูป เป็นขนาดเล็ก ๆ (พระเครื่อง) บรรจุไว้ในพุทธเจดีย์

ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวช ก็มีหลักฐานว่า ทรงใช้ผ้านุ่งห่มที่เรียกว่าจีวร แต่ในช่วงต้นพุทธกาล พระภิกษุยังคงใช้ผ้าที่หาได้มาเย็บต่อๆกัน ไม่เป็นระเบียบ หรือบางครั้ง ภิกษุ บางรูปได้รับถวายผ้าอย่างดีจาก คหบดี ก็มีการถูกลักขโมยบ่อยครั้ง เนื่องด้วยผ้าเป็นสิ่งที่หายากใน สมัยพุทธกาล จนต่อมา พระพุทธเจ้าได้ ทอดพระเนตรนาของชาวมคธ จึงทรงดำริให้ตัดผ้าจีวร เป็นสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ มาต่อกัน จึงมีลักษณะเป็นผ้าที่เศร้าหมอง คือผู้อื่นมักไม่ต้องการไปตัดเย็บอีก เหมาะสมกับสมณะ ผ้าสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ ที่เย็บต่อกันนั้น ปรากฏลวดลาย เป็นลายคันนา ออกแบบโดยพระอานนท์ ดังปรากฏข้อความในพระวินัยปิฎก ว่า

อานนท์ เธอเห็นนาของชาวมคธ ซึ่งเขาพูนดินขึ้นเป็นคันนาสี่เหลี่ยม พูนคันนายาวทั้งด้านยาวและด้านกว้าง พูนคันนาคั่นในระหว่างๆ ด้วยคันนาสั้นๆ พูนคันนาเชื่อมกันทาง 4 แพร่ง ตามที่ซึ่ง คันนากับคันนา ผ่านตัดกันไปหรือไม่? … เธอสามารถแต่งจีวรของภิกษุทั้งหลาย ให้มีรูปอย่างนั้นได้หรือไม่?

พระอานนท์ตอบว่า “สามารถ พระพุทธเจ้าข้า.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ทักขิณาคิรีชนบทตาม พระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จ กลับมา พระนครราชคฤห์อีก ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์แต่งจีวรสำหรับ ภิกษุหลายรูป ครั้นแล้ว เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคได้กราบทูลว่า

ขอพระผู้มีพระภาคจงทอดพระเนตรจีวรที่ ข้าพระพุทธเจ้าแต่งแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

ภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นคนฉลาด อานนท์ได้ซาบซึ้ง ถึงเนื้อความแห่งถ้อยคำที่ เรากล่าวย่อได้โดยกว้างขวาง …จีวรจักเป็นผ้าที่ตัดแล้ว เศร้าหมองด้วยศัสตรา สมควรแก่สมณะ และพวกศัตรูไม่ต้องการ

หลังจากพระอานนท์ถวาย จีวร ที่ตัดแต่งแล้ว ให้ทอดพระเนตร พระพุทธอง ค์ทรงพอพระทัย และอนุญาตให้ใช้ ผ้า 3 ผืน คือ สังฆาฏิชั้นเดียว จีวร และสบง

ต่อมาทรงอนุญาต ไตรจีวร คือ ผ้าสังฆาฏิสองชั้น จีวร และสบง ทั้งนี้เพื่อให้ พระสงฆ์ ใช้ป้องกันความหนาวเย็น และรับสั่งว่า ภิกษุ ไม่พึงมี จีวรมากกว่านี้ (รูปใดมีมากกว่านี้ เป็นอาบัติ)

อติเรกจีวร คือ จีวร ที่มีเกินกว่า ผ้าที่อธิษฐานเป็น ไตรจีวร ตามพระวินัย ภิกษุสามารถเก็บไว้ได้ไม่เกิน 10 วัน และสามารถทำเป็น วิกัปอติเรกจีวร คือ ทำให้เป็นจีวรที่มี 2 เจ้าของ เพื่อจะได้ไม่ต้องอาบัติ เพราะเก็บไว้เกินกำหนด

ความเป็นมาของเรื่องอติเรกจีวรนี้ เนื่องจากมีผู้ถวายจีวรแก่ พระอานนท์ แล้วท่านประสงค์จะเก็บไว้ ถวาย พระสารีบุตร ซึ่งขณะนั้นอยู่ต่างเมือง ประมาณ 10 วัน จึงจะเดินทางมาถึง พระอานนท์ได้เข้าไป ทูลถามพระพุทธองค์ว่า จะปฏิบัติอย่างไร กับอติเรกจีวรดี จึงทรงมีพุทธบัญญัติ ให้เก็บรักษาอติเรกจีวร ไว้ได้ไม่เกิน 10 วัน